หลักการใช้
ประโยค
(Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า
ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
เขา เดิน - He walked
เขา เป็นประธาน (Subject) เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive
Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)
เรา กิน มันฝรั่ง - We eat potatoes เรา เป็นประธาน (Subject) กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล
(Present Tense)
ทั้ง
2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น
(แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้)
เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง
Mangoes are eaten -มะม่วง
ถูกกิน มะม่วง เป็นประธาน (Subject) ถูกกิน เป็นกริยา (Present
Tense) ประธานของประโยคคือ Apples ไม่ได้ทำกริยา
กิน แต่ในทางตรงกันข้าม ประธานกลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ
The letter was read yesterday -จดหมาย ถูกอ่าน เมื่อวานนี้จดหมาย เป็นประธาน (Subject) ถูกอ่าน เป็นกริยา (Past Tense)
ในทำนองเดียวกันกับประโยคแรก จดหมายซึ่งเป็นประธานของประโยคไม่ได้ เป็นผู้อ่าน
แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกอ่านโดยประธาน ทั้ง 2 ประโยคหลังนี้
มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า กรรมวาจก (Passive
Voice)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น